วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

หินทราย(Sandstone)และศิลาแลง

หลายคนคงเคยไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายที่โคราชกันนะคะ หรือชื่อเป็นทางการว่า
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัว
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและ
งดงาม

ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
วัสดุสำคัญที่ใช้ในการสร้างปราสาทในสมัยโบราณก็คือหินทรายค่ะ และก็มีบางส่วนของปราสาท
ทำจากศิลาแลง เช่นเดียวกับที่ปราสาทหินพิมายแห่งนี้
 
หินทราย (อังกฤษ: Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วย
เม็ด
ทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ 
 
เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต)แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง
ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง

ประโยชน์หินทราย
ใช้ประโยชน์ทางด้านการสร้างปราสาทในสมัยโบราณ ทำหินลับมีด ทำครก ทำโม่

ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

และบางส่วนของปราสาททำจากศิลาแลง  ศิลาแลง หรือ แม่รัง เป็นวัสดุในธรรมชาติอย่างหนึ่ง
มีลักษณะคล้ายกับหิน สีแดง ส้ม หรือน้ำตาลเข้ม มีรูพรุนทั่วไป นับเป็นวัสดุที่มีความสำคัญ
ในการก่อสร้างในอดีต เนื่องจากมีความอ่อนนุ่มและมีความแข็งพอสมควร
 
ศิลาแลงเป็นวัสดุที่ผ่านกระบวนการผุพังมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นรูพรุนทั่วไป มีสีสนิมเหล็ก หรือสีอิฐ ส่วนประกอบสำคัญทางเคมีของศิลาแลง คือ ออกไซด์ของเหล็ก หรืออะลูมิเนียม โดยอาจมีแร่ควอตซ์และเคโอลิไนต์ปนอยู่ด้วย ส่วนธาตุที่เป็นด่างและซิลิเกตนั้นมีอยู่น้อยมาก หากมีสารประกอบเหล็กอยู่มากพอ ก็อาจนำไปใช้เป็นวัตถุดิบถลุงเอาเหล็กได้ หรือหากมีสารประกอบอะลูมิเนียมมากพอ ก็อาจนำไปถลุงเอาโลหะอะลูมิเนียมได้เช่นกัน
 
ศิลาแลงเกิดขึ้นได้ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกมาก แต่แล้งนานด้วย ในฤดูฝนน้ำใต้ดินมีระดับสูง ทำให้ท่วมตอนบนของชั้นดิน (ซึ่งต่อไปกลายเป็นศิลาแลง) ระหว่างนั้น น้ำฝนจะละลายเอาสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์เอาไว้ เมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำใต้ดินลดระดับต่ำลง ก็พาเอาสารประกอบอะลูมิเนียมลงไปสู่ที่ต่ำ เวลานานเข้า วัสดุบริเวณด้านบนจึงมีสารประกอบเหล็กออกไซด์มากขึ้น และมักรวมกันเป็นกลุ่ม จึงเกิดเป็นโพรงว่าง เป็นทางให้น้ำใต้ดินซึมขึ้นลงได้ง่ายขึ้น และชะสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์ออกไปเร็วด้วย ทำให้ศิลาแลงมีลักษณะเด่น คือ มีรูพรุนทั่วไป และเนื้อเป็นสารประกอบเหล็กออกไซด์มากกว่าอะลูมิเนียมออกไซด์
 
ในประเทศไทยพบศิลาแลง 2 แบบ คือ
  1. แบบที่เชื่อมยึดตัวแน่น เป็นแผ่นต่อเนื่องเป็นพืด เรียกว่า "ศิลาแลง" หรือ "แม่รัง" นิยมตัดเป็นแท่งคล้ายอิฐ นำไปสร้างสิ่งก่อสร้าง กำแพง ปูทางเดิน และ
  2. แบบที่เกาะตัวกันหลวมๆ ลักษณะร่วน เรียกว่า "ลูกรัง" นิยมใช้อัดพื้นถนน เพราะเมื่อมีการบดอัด และได้รับความชื้นจากน้ำแล้ว จะจับตัวแน่นดีกว่าดิน หรือทรายธรรมดา
การนำศิลาแลงมาใช้นั้น เป็นกระบวนการที่ไม่ยุ่งยากนัก เมื่อเปิดหน้าดินลงไปถึงตัวศิลาแลง จะพบเนื้อดินที่ไม่แข็งนัก ใช้ขวานหรือเหล็กสกัด หรือชะแลง เซาะร่องงัดออกมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ได้ แต่เมื่อยกขึ้นมาแล้วต้องรีบตัดแต่งให้เข้ารูปตามต้องการโดยเร็ว เพราะหากทิ้งไว้เป็นเวลานาน มันจะแข็งตัวกว่าเดิมมาก เมื่อแต่งรูปเสร็จแล้ว วางทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก็จะแข็งมาก สามารถนำไปก่อสร้างได้เหมือนอิฐ ศิลาแลงนี้สามารถพบได้ในโบราณสถานสมัยสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบได้ในโบราณสถานแห่งอื่นๆ เช่น เชียงแสน เชียงใหม่ กำแพงเพชร เป็นต้น
ปัจจุบันมีความนิยมนำศิลาแลงมาใช้ตกแต่งสวน เป็นหินปูพื้น ปูทางเดิน ก่อกำแพง และอาจใช้ก่อผนังอาคารบ้านเรือนได้เช่นกัน

ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอม อีกแห่งหนึ่งที่มีความงดงามและทรงคุณค่านะคะ
 
ขอบคุณที่มาของข้อมูลอ้างอิงจาก  http://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
http://th.wikipedia.org/wiki/หินทราย และ http://th.wikipedia.org/wiki/ศิลาแลง
 
 



วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภูเขา และแหล่งน้ำธรรมชาติ


ความงดงามของธรรมชาติ และความสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งที่น่าค้นหา มาดูกันมาความเป็นมาของภูเขา และแหล่งน้ำธรรมชาติ มีความเป็นมาอย่างไรติดตามได้ค่ะ


 

                                             รังเย็นรีสอรท์  อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย

ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ
ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
  • ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน
  • ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็นภูเขา
  • ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน
  • ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน

ความสูงของภูเขา

ความสูงของภูเขาโดยทั่วไปจะวัดโดยความสูงที่ระดับเหนือน้ำทะเล เช่น เทือกเขาหิมาลัย โดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ระดับ 5 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยอดเขาเอเวอเรสต์บนเทือกเขาหิมาลัย และเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก สูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ 8.8 กิโลเมตร (8,844 เมตร) ดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 2,565 เมตร

เทือกเขาและภูเขาที่สำคัญของไทย

ทือกเขาและภูเขาที่สำคัญของโลก

บัว(Lotus) ราชินีแห่งไม้น้ำ

บัวได้รับการขนานนามให้เป็น   "ราชินีแห่งไม้น้ำ"  เป็นพืชน้ำล้มลุกที่มีทั้งลักษณะลำต้นที่เป็นหัว เหง้า หรือไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญข...